ออกแบบระบบสายอากาศทีวี ของ โรงแรม คอนโด อพาร์ทเมนท์ ทีวีดิจิตอลเมื่อทีวีดิจิตอลเริ่มออกอากาศได้เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว คนที่อยู่บ้านเดี่ยวหรือทาวเฮ้าส์อาคารพาณิชย์คงไม่ค่อยมีอะไรต้องกังวลเกี่ยวกับการรับชม เพราะแค่หาก่ลอง set top box แล้วก็ทดสอบด้วยเสาอากาศหนวดกุ้งดูก่อน หากดูไม่ได้ก็ลองไปซื้อสายอากาศแบบใช้ในอาคาร (Active Antenna) มาลองเพราะกล่อง set top box ที่ผ่านการรับรองจากกสทช. ทุกกล่องจะสามารถจ่ายไฟเลี้ยงให้สายอากาศประเภทนี้ได้อยู่แล้ว สุดท้ายหากลองแล้วยังดูไม่ได้ก็คงต้องตัดสินใจไปหาสายอากาศแบบก้างปลามาติดตั้งกับชายคา หรือตั้งเสาสูงจากพื้นที่ดินของตัวเองก็คงไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
แต่ปัญหาคงเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ตามคอนโดหรืออพาร์ทเม้น คนที่อยู่คอนโดหรืออพาร์ทเม้นแบบระยะสั้นอาจจะตัดสินใจหาซื้อสายอากาศแบบภายในอาคารเป็นของตนเองหากว่ามันสามารถรับสัญญาณทีวีดิจิตอลได้ แต่หากรับสัญญาณไม่ได้เพราะคอนโดอยู่ไกลเสาส่งมาก และคอนโดหรืออาคารชุดมีระบบทีวีรวม อยู่แล้ว การจะไปติดตั้งสายอากาศแบบก้างปลาเองบนดาดฟ้าก็คงเป็นไปได้ยาก เพราะไหนจะต้องขออนุญาตจากนิติบุคคลอาคารชุด ไหนก็จะต้องลากสายยาวมาที่ห้องตัวเอง ส่วนใหญ่แล้วจึงต้องไปปรึกษากับนิติบุคคลอาคารชุด ผู้ดูแลคอนโด หรืออพาร์ทเม้นให้ลงมาแก้ไขปัญหา ในลักษณะที่ว่าหากเอาทีวีมาเสียบสายสัญญาณข้างฝาก็อยากจะให้รับชมทีวีดิจิตอลได้ทุกช่องทันที สิ่งเหล่านี้คือปัญหาของผู้ที่อยู่อาศัยในคอนโดอพาร์ทเม้นที่ต้องการรับชมทีวีดิจิตอล รวมถึงเป็นปัญหาปวดหัวของผู้ดูแลที่อาจจะเห็นใจผู้อาศัยที่แต่ละคนต้องการดูทีวีดิจิตอลแต่ไม่สามารถรับชมได้ จึงอาจจะกำลังมองหาหนทางในการแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการอัพเกรดระบบสายอากาศที่ส่งไปยังแต่ละห้อง ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายสูง แถมบางครั้งเจอช่างที่ไม่เข้าใจระบบอย่างถ่องแท้ เสียเงินแล้วยังไม่สามารถดูทีวีดิจิตอลได้ก็มี ทาง ThaidigitalTelevision จึงพยายามจะรวบรวมข้อแนะนำต่างๆ เพื่อให้เจ้าของหรือผู้ดูแลอาคารชุด คอนโด อพาร์ทเม้น ได้พิจารณาเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจดำเนินการในทิศทางที่เหมาะสม เพื่อที่ทั้งผู้อาศัยและผู้ดูแลต่างก็แฮปปี้กันทั้งสองฝ่าย การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลทีวี กรณีใช้ระบบทีวีรวมใช่ว่าระบบกระจายสัญญาญจากสายอากาศ (MATV) ทุกที่จำเป็นจะต้องถูกเปลี่ยนเพื่อรับสัญญาณทีวีดิจิตอล อุปกรณ์และเครื่องมือเก่าๆที่มีไม่ว่าจะเป็นสายอากาศ ระบบจาน ส่วนขยายสัญญาณและระบบสายสัญญาณอาจจะยังใช้การได้อยู่ ในหลายๆกรณีจะมีการอัพเกรดอุปกรณ์เพียงสองหรือสามรายการก็สามารถใช้งานรับชมทีวีดิจิตอลได้แล้ว การทึ่จะทดสอบว่าระบบทีวีรวม ที่มีอยู่นั้นจะสามารถกระจายสัญญาณทีวีดิจิตอลไปตามห้องต่างๆของคอนโดหรืออพาร์ทเม้นได้หรือไม่ มีวิธีการทดสอบอย่างง่ายๆ โดยการเลือกห้องในตึกมาจำนวนหนึ่งเพื่อทำการทดสอบ โดยผู้อาศัยอาจจะหาซื้อทีวีทีี่มี DVB-T2 ในตัวมาแล้วหรือหาซื้อกล่อง set top box มาแล้ว หรือจะนำอุปกรณ์ไปทดสอบการสายอากาศที่ผนังห้องเอง แล้วดูว่าที่ห้องนั้นๆ สามารถรับชมทีวีดิจิตอลได้หรือไม่ สิ่งสำคัญคือต้องเลือกห้องที่กระจัดกระจายไปทุกบริเวณของอาคาร ทั้งใกล้สายอากาศที่สุดและไกลสายอากาศที่สุด เพราะเป็นไปได้ที่บางครั้งสัญญาณทีวีดิจิตอลใช้งานได้ดีในบางบริเวณแต่อีกบริเวณหนึ่งใช้งานไม่ได้ การทดสอบควรจะทดสอบโดยการแสกนหาสัญญาณทีวีให้ได้ตลอดช่วงก่อน จากนั้นก็บันทึกไว้ว่ามีช่องอะไรบ้าง เมื่อไปที่แต่ละห้องแล้วก็ทดสอบว่าช่องทีวีจากแต่ละ MUX สามารถรับสัญญาณได้หรือไม่ หากต้องการความรวดเร็ว ก็สุ่มทดสอบเพียง MUX ละช่องก็เพียงพอแล้ว แต่หากมีเวลาก็ไล่ทดสอบให้ครบทุกช่องแล้วจดบันทึกตำแหน่งห้องและช่องที่ดูได้ไว้ หากทุกช่องดูได้และสุ่มห้องมาจากหลายๆบริเวณแล้วไม่มีปัญหา แสดงว่าอาคารนี้สามารถดูทีวีดิจิตอลได้จากสายสัญญาณเดิมที่มีอยู่แล้ว เราควรสอบถามคนที่รับสัญญาณทีวีดิจิตอลได้ หรือหากทดสอบเองได้ก็ตวรตรวจเช็คว่าภาพที่ปรากฏนั้นแตกหรือกระตุกบ่อยหรือไม่ เพราะหากเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ แสดงว่าสัญญาณทีวีดิจิตอลในอาคารจากระบบสายสัญญาณนั้นอ่อน ซึ่งกรณีนี้อาจจะต้องมีการอัพเกรดระบบทีวีรวม ที่มีอยู่ ในบางสถานที่อาจจะมีเสาส่งสัญญาณตัวใหม่เกิดขึ้นเพื่อเพิ่มความแรงของสัญญาณในพื้นที่น้นๆ ในกรณนี้อาจจะต้องมีการติดตั้งสายอากาศเพิ่มเพื่อให้ชี้ไปยังตำแหน่งใหม่นี้ ช่างอาจจะหาข้อมูลทางเทคนิคเพื่อระบุตำแหน่งเสาส่งใหม่และทำการทดสอบให้แน่ใจก่อนจะมีการติดตั้งจริง แต่หากพบว่าบางห้องไม่สามารถรับชมทีวีดิจิตอลได้ หรือไม่สามารถดูได้ครบทุกช่องที่มีการออกอากาศอยู่ในขณะนั้น อาจจะต้องมีการตรวจสอบระบบสายอากาศของอาคารจากผู้ติดตั้งสายอากาศที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องระบบทีวีรวม โดยเฉพาะ โดยทาง ThaidigitalTelevision จะได้รวบรวมรายชื่อบริษัทห้างร้านที่เชี่ยวชาญในระบบสายอากาศระบบทีวีรวม ในโอกาสต่อไป หากต้องมีการ upgrade ระบบทีวีรวม จะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างแน่นอนว่าการปรับปรุงระบบทีวีรวม ในอาคารเพื่อให้รับชมทีวีดิจิตอลได้นั้นย่อมมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ดังนั้นก่อนการดำเนินการใดๆ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าอาคารของท่านจำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงระบบทีวีรวม ในระดับไหน อาจจะต้องให้หลายๆบริษัทเสนอราคามาเพื่อการเปรียบเทียบ และแสดงเหตุผลที่เหมาะสมว่าทำไมถึงต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนนั้นๆ อย่าลืมว่าช่างส่วนใหญ่อยากจะขายสินค้าของตัวเองให้มากที่สุดจึงอาจจะขอเปลี่ยนอุปกรณ์ในระบบทีวีรวม ใหม่หมด จึงควรจะตรวจสอบจากหลายๆทางก่อนที่จะตัดสินใจตามที่ผู้รับเหมาต้องการ ่ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการในการปรับปรุงระบบทีวีรวม ในอาคารของท่านอาจจะมีในประเด็นต่างๆดังนี้ – การเปลี่ยนแผงก้างปลาบนดาดฟ้าของอาคาร เพื่อให้มีทิศทางสอดคล้องกับเสาส่งใหม่สำหรับบางช่อง แต่ส่วนใหญ่แล้วหากทีวีระบบอนาลอกเดิมรับสัญญาณ ThaiPBS เดิมได้อยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน ยกเว้นตำแหน่งของอาคารของท่านอยู่ในบริเวณที่สุญญาณตกวูบพอดี การออกแบบระบบทีวีรวม ใหม่หมดให้กับอาคารของท่านเพื่อให้รับชมทีวีดิจิตอลได้นั้นควรจะมีการนำข้อมูลระบบเก่าของทั้งเสียงและภาพเข้ามาคิดคำนึงด้วย เช่นหากเดิมสายอากาศสามารถรับสัญญาณได้เฉพาะช่วง UHF อย่างเดียว ก็อาจจำเป็นที่จะต้องให้สามารถรองรับสัญญาณที่ความถี่ต่ำลง ก็อาจจะต้องมีการซื้อหาแผงก้างปลามาเพิ่ม หาซื้อระบบขยายสัญญาณเพิ่ม หรืออาจจะต้องมีการเพิ่มโมดูลหรือตัวกรองสัญญาณเพิ่มเติม หากเป็นช่วงที่มีการออกอากาศสองระบบคือดิจิตอลและอนาลอกไปพร้อมๆกัน ผู้พักอาศัยอาจจะต้องกาดูทีวีทั้งสองระบบอยู่ การอัพเกรดระบบทีวีรวม ให้รองรับทีวีดิจิตอลอย่างเดียวอาจจะทำให้รับชมทีวีแบบอนาลอกไม่ได้ ผู้ดูแลอาคารอาจจะต้องแจ้งให้ผู้อยู่อาศัยทราบถึงการเตรียมพร้อมสำหรับการรับชมทีวี และคนที่อาจจะได้รับผลกระทบ ข้อควรรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญาณทีวีระบบดิจิตอลบางครั้งผู้ดูแลอาคารอาจจะมีคำถามว่าทำไมบางห้องดูได้ แต่บางห้องดูไม่ได้เลยซักช่อง ข้อมูลเบื้องต้นต่อไปนี้อาจจะเป็นคำตอบบางส่วนให้ท่านได้ สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับสัญญาณทีวีดิจิตอลคือ The Digital Cliff หรือรูปแบบสัญญาณแบบหน้าผาจุดเด่นอันหนึ่งของทีวีระบบดิจิตอลคือ มันสามารถขจัดสัญญาณรบกวนออกไปได้ ทำให้ได้ภาพที่คมชัด ถึงจุดหนึ่งที่สัญญาณรบกวนมีมากเกินไปเนื่องจากสัญญาณอ่อน หรือการรบกวนจากอย่างอื่น ก็จะถึงจุดที่ระบบการกำจัดสัญญาณรบกวนไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป นั่นหมายถึงว่าไม่เหมือนระบบทีวีอนาลอกที่สัญญาณการรับชมทีวีจะค่อยๆหายไปตามระยะทาง แต่การรับชมทีวีดิจิตอลถึงจุดหนึ่งก็จะไม่สามารถรับชมได้เลย ไม่มีคำว่าเห็นภาพจางๆ จะมีเพียงดูได้กับดูไม่ได้แค่นั้น พฤติกรรมของสัญญาณในลักษณะนี้เราเรียกว่าหน้าผาของสัญญาณหรือ Digital Cliff เมื่อสัญญาณเริ่มเข้าใกล้หน้าผา เสียงก็จะแตก ภาพก็จะแตกออกเป็นสี่เหลี่ยมเล็กๆ และเมื่อสัญญาณอยู่ในภาวะเลวร้ายลง ภาพก็อาจจะหยุดนิ่ง แล้วหายไป แล้วอาจจะมีการแสดงคำว่า ไม่มีสัญญาณ หรือ สัญญาณอ่อนออกมา ภาพด้านบนจึงสื่อความหมายว่า การออกแบบหรืออัพเกรดระบบสายอากาศทีวีรวม นั้นผู้ออกแบบอาจจำเป็นต้องรับรู้ถึงคุณภาพของสัญญาณและช่วงสัญญาณที่ยอมรับได้ หากการรับชมส่วนใหญ่ทำได้ดี แต่มีบางครั้งสัญญาณภาพแตก ก็แสดงว่าสัญญาณเข้าใกล้หน้าผาแล้ว พื้นที่ๆเคยรับสัญญาณทีวีอนาลอกแบบมีเม็ดฝนมาก ภาพไม่ค่อยชัด อาจจะหมายถึงว่าจะไม่สามารถรับชมทีวีดิจิตอลได้เลย อาจจะต้องมีการติดตั้งเสาส่งเสริมจากผู้ให้บริการโครงข่าย จึงต้องมีการเพิ่มแผงก้างปลาเพื่อให้ชี้ไปยังจุดใหม่นั้น ในบางพื้นที่จึงอาจจะต้องมีทั้งการเปลี่ยนแผงก้างปลาที่ยาวขึ้นหรือติตตั้งตัวขยายสัญญาณเพิ่มขึ้นด้วย ส่วนประกอบชองระบบทีวีรวม เบื้องต้นระบบ MATV โดยทั่วๆไปแล้วจะมีลักษณะดังภาพ โดยในบางพื้นที่อาจจะมีระบบจานดาวเทียมหรือระบบเคเบิ้ลเข้าไปร่วมอยู่ด้วย จากภาพ Headend หรือส่วนหัวคือระบบที่ใช้อธิบายถึงอุปกรณ์ที่จะทำหน้าที่ส่งสัญญาณเข้าสู่ระบบสายเคเบิ้ลก่อนส่งกระจายไปตามห้องต่างๆต่อไป ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นอุปกรณ์ขยายสัญญาณในกรณีต่างๆเช่น Wideband amplifiers, Channelised appliiers, Trans modulation headends, Channel processing headends และ PAL remodulatores เป็นต้น Splitter คือตัวแยกสัญญาณเพื่อกระจายไปยังจุดหลักๆของระบบกระจายสัญญาณไปตามห้องหรือ Distribution Tap อีกที ส่วน Outlet คือช่องเสียบสัญญาณบริเวณผนังห้องเพื่อต่อกับ set top box หรือ TV ทีมี DVB-T2 จูนเนอร์ในตัว ทั้งนี้สัญญาณที่ช่องเสียบผนังต่ำสุดควรจะอยู่ที่ประมาณ 45 dBuV สูงสุดที่ 80dBuV ช่วงที่เหมาะสมที่สุดจะอยู่ที่ 60 – 70 dBuV สำหรับรายละเอียดทางด้านเทคนิคต่างๆจะนำเสนอในโอกาสต่อไป คอนโดหรืออพาร์ทเม้นท์อาจจะดูช่องทีวีดิจิตอลได้อยู่แล้วเพียงแต่มีข้อติดขัดเล็กน้อยในอดีตเลยทำให้ดูทีวีดิจิตอลตามห้องไม่ได้ แต่หากผู้อาศัยดูช่อง ThaiPBS ได้ซึ่งมีการส่งสัญญาณในช่วง UHF ก็แสดงว่าอาจจะมีตัวกรองสัญญาณดักอยู่ หากท่านดูแลหรือเป็นเจ้าของอาคารพักอาศัยรวม อาจจะเคยจำได้ว่าในอดีตตอนที่มีการเปลี่ยนความถี่ใหม่ของช่อง 3 ไปอยู่ในย่านความถี่ UHF อาจจะเคยตามช่างมาติดตั้งแผงก้างปลาเพิ่มและอาจจะมีการเปลี่ยนกล่องรวมและแยกสัญญาณจากแผงต่างๆใหม่ อาจจะมีการแยกสัญญาณระหว่างทีวีอนาลอก กับระบบ MMDS โดยจะมีตัวแบ่งสัญญาณให้รับช่องความถี่ UHF ได้ไม่เกินช่อง 30 โดยให้ความถี่สูงกว่านี้เป็นระบบ MDDS การส่งผ่านของสัญญาณทีวีดิจิตอลจากสายอากาศเลยไปไม่ถึงห้องต่างๆ ดังนั้นให้ลองสังเกตดูว่าจากแผงก้างปลาที่มีซี่สั้นๆ (UHF) นั้นก่อนเข้าตัวกระจายสัญญาณไปตามห้องต่างๆ มีกล่อง Filter หรือตัวกรองสัญญาณดักไว้อยู่หรือไม่ หากมีให้ลองเอากล่องนี้ออกโดยการต่อสายตรงจากแผงสายอากาศนี้ไปยังตัวกระจายสัญญาณโดยตรงเลย แล้วลองไปปรับจูนหาช่องทีวีดิจิตอลใหม่ดูว่ารับชมได้ครบทุกช่องหรือไม่ มารู้จักกับระบบทีวีรวมกันครับMATV คืออะไร อาจจะเป็นคำถามที่คนอยู่อพาร์ทเม้นท์หรือคอนโดอยากรู้ เพราะว่าทุกห้องคงต้องการดูทีวีอยู่แล้ว ระบบทีวีรวมนั้นย่อมาจากคำว่า Master Antenna Television อันหมายถึงการกระจายสัญญาณทีวีไปยังห้องต่างๆภายในอาคารเดียวกันหรือในกลุ่มอาคารบริเวณใกล้เคียงกันโดยใช้สายอากาศเพียงชุดเดียว ระบบนี้จึงเป็นที่นิยมใช้ตาม หอพัก อพาร์ทเม้น รีสอร์ท คอนโดมิเนียม โรงแรมเป็นต้น เหตุที่ได้รับความนิยมในกลุ่มห้องพักแบบนี้ก็ต้องลองจินตนาการดูว่าคอนโดหนึ่งๆมีจำนวนห้องซัก 50 ห้อง จะให้แต่ละห้องติดตั้งสายอากาศหรือจานดาวเทียมของตนเองก็คงรกหูรกตาน่าดู เห็นได้จากอาคารชุดสมัยก่อนๆ ที่ไม่มีระบบเหล่านี้ เราจะเห็นเสาก้างปลาเต็มหลังคา หรือจานดาวเทียมเต็มหลังห้อง การใช้เสารวมจึงเป็นแนวทางที่ดีในการบริหารจัดการเรื่องการเดินสาย การติดตั้งของแต่ละห้องให้มีปัญหาน้อยลง การติดตั้งสายอากาศแบบก้างปลาบนหลังคาอันเดียวแล้วต่อสายธรรมดาๆ ลงมาทุกห้องจะเกิดปัญหาว่าห้องที่อยู่ไกลๆจะดูได้ไม่ชัด หรือแทบไม่มีสัญญาณเลย เกิดสัญญาณรบกวนจากการเปิดปิดไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าในห้องต่างๆเข้ามาในระบบสายส่ง การสูญเสียสัญญาณเมื่อต้องต่อสายระยะไกล ปัญหาเหล่านี้จึงต้องมีการออกแบบและคำนวนจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์เฉพาะ เราจึงควรมาทำความเข้าใจเบื้องต้นกับระบบ MATV ดังนี้คือ MATV ประกอบด้วยส่วนหลักๆ 3 ส่วนคือ1 ส่วนรับสัญญาณทีวีเข้าระบบส่วนรับสัญญาณทีวีที่เป็นสายอากาศจะทำหน้าที่รับสัญญาณทีวีที่ส่งออกมาจากเสาส่งในระบบภาคพื้นดิน แนวคิดคือการนำแผงก้างปลาหันไปตามเสาส่งต่างๆแล้วรวมสัญญาณส่งลงไปตามอาคารตามสายส่ง แต่ปัญหาของทีวีในระบบอนาลอกก็คือ คุณภาพของสัญญาณจะไม่ดี เนื่องจากเกิดการสะท้อนของคลื่นสัญญาณกับอาคารข้างเคียง ทำให้เกิดเงา การจูนสัญญาณอาจเกิดภาวะเสียงชัดภาพไม่ชัด แต่พอภาพชัดเสียงจะไม่ชัดเป็นต้น สมัยนี้ก่อนทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินจะเกิดขึ้นจึงนิยมทำวิธีที่สอง นั้นคือส่วนรับสัญญาณเป็นจานดาวเทียม โดยการมีจานดาวเทียมนี้จะทำให้คุณภาพของสัญญาณดีมาก คมชัดทุกช่อง ไม่เป็นเงา ไม่มีปัญหาเรื่องเสียงและภาพ เราสามารถตั้งจานหลักๆ เพียงจานเดียวก็รับสัญญาณได้หลายๆ ข่อง แต่จะต้องมีการติดตั้งเครื่องรับหรือ Receiver จำนวนมากเพื่อแปลงสัญญาณดาวเทียมให้เป็นสัญญาณทีวีเพื่อส่งไปยังระบบสายสัญญาณของอาคารต่อไป ตัวอย่างเข่นหากมีช่องดาวเทียมทั้งหมด 100 ช่อง และเราต้องการช่องที่น่าสนใจส่งผ่านระบบ MATV เพียง 10 ช่อง เราก็จะเดินสายสัญญาณมาจากจานดาวเทียมแล้วแยกสัญญาณ 10 เส้นเข้าตัวรับสัญญาณ 10 ตัว โดยแต่ละตัวจะจูนเฉพาะช่องที่เราต้องการ จากนั้นสัญญาณจากจูนเนอร์สิบตัวนี้จะถูกนำไปแปลง (Modulate) เพื่อแปลงเป็นคลื่นวิทยุให้ทีวีสามารถรับสัญญาณได้ เสมือนทำหน้าที่เป็นเครื่องส่งขนาดเล็ก 10 เครื่องนั่นเอง จากนั้นสัญญาณเหล่านี้ก็จะถูกรวม (Combiner) เข้าด้วยกันเพื่อส่งต่อไปยังภาคขยายสัญญาณและกระจายไปตามระบบสายส่งลงสู่แต่ละห้องต่อไป การออกแบบระบบ MATV แบบนี้ ก็เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทุกจุดทุกห้องจะสามารถรับชมทีวีได้ทั้ง 10 ช่องที่เลือกแล้วด้วยความคมชัด ไม่มีสัญญาณสะท้อนต่างๆเหมือนที่รับมาจากสายอากาศโดยตรง หากต้องการเพิ่มช่องก็แค่เพิ่ม Receiver และ Modulator เพิ่มเท่านั้น ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะมีขนาดเล็กถูกออกแบบมาโดยเฉพาะเป็นโมดูล เพื่องานในลักษณะนี้ เพราะแต่ละตัวจะทำงานแบบคงที่ มีแหล่งจ่ายไฟรวม ไม่ต้องมีหน้าจอแสดงผล ไม่ต้องมีตัวรับสัญญาณจากรีโมทในแต่ละช่อง (Channel) จึงทำให้ราคาถูกกว่าไปซื้อกล่องดาวเทียมธรรมดามาวางเรียงกัน 2 ภาคขยายสัญญาณทีวีเนื่องจากโดยทั่วไปแล้วทีวีแต่ละเครื่องจะรับสัญญาณได้ดีที่ความแรงของสัญญาณ 60 – 80 dB หากน้อยกว่า 60 dB ภาพจะมีการรบกวนมากจะเป็นเม็ดๆ หรือเรียกตามระบบทีวีอนาลอกว่าเป็นหิมะ (Snow) หากมากเกิน 80 dB ภาพจะหยาบสีเข้มเกินไป เกิดการเหลื่อมของสีมาก โดยทั่วไปแล้วจะมีการออกแบบให้มีความแรงสัญญาณอยู่ประมาณ 70 dB การขยายสัญญาณก่อนส่งผ่านไปยังระบบสายส่ง มักจะมีการขยายสัญญาณขึ้นไปถึง 90 – 110 dB ซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบ เพื่อชดเชยการสูญเสียสัญญาณตามจุดต่างๆ ให้เหลือที่ปลายทางทุกจุดอยู่ในช่วง 70 dB ตามที่กล่าวข้างต้น 3 ส่วนกระจายสัญญาณทีวีไปตามจุดต่างๆส่วนกระจายสัญญาณจะทำหน้าที่หลักๆ กระจายสัญญาณทีวีให้เหมาะสมในแต่ละจุด และทำหน้าที่กำหนดความต้านทานรวมที่ 75 โอห์ม ในการกระจายสัญญาณไปในแต่ละจุดนั้นจะต้องมีการออกแบบให้ทุกจุดได้รับสัญญาณในช่วง 60 – 80 dB นั่นหมายถึงว่าภาคขยายสัญญาณในข้อ 2 จะต้องขยายสัญญาณให้สูงกว่านี้เพื่อชดเชยการสูญเสียสัญญาณในจุดต่างๆ ส่วนการทำหน้าที่กำหนดความต้านทานรวมหรือ Matching Impedance นั้นก็เพื่อให้กำลังขยายที่ออกมาจากภาคขยายนั้นสูงสุด ไม่งั้นคลื่นจะสะท้อนไปมาระหว่างในสายและจะทำให้เกิดเงาของภาพขึ้นมาได้ อุปกรณ์ที่สำคัญในระบบกระจายสัญญาณมีดังต่อไปนี้ – Tap-off เป็นการแยกสัญญาณจากสายส่งหลักไปยังตัวกระจายสัญญาณไปตามห้องอีกที ซึ่งอาจจะมีทั้งแบบ 2 ทางไปจนถึง 4 ทาง การสูญเสียสัญญาณที่นี่ (Tap loss) จะมีตัวเลขสูงเนื่องจากเป็นตัวแบ่งสัญญาณหลักๆ สายสัญญาณที่ใช้ในช่วงนี้จะเป็นแบบ RG-11 – Splitter ตัวแยกสัญญาณไปยังแต่ละห้องอีกทอดหนึ่ง สัญญาณที่มาจาก Tap-off จะผ่านตัว Splitter อีกทีอันเป็นด่านสุดท้ายที่จะแยกไปตามห้องต่างๆ ยิ่งมีการแยกสัญญาณเยอะ การสูญเสียสัญญาณ (Insertion loss) ก็จะเยอะตามไปด้วย สายสัญญาณที่ใช้ในช่วงนี้จะเป็นแบบ RG-6 แต่จะว่าไปแล้วช่างอาจจะเรียกทั้งหมดว่าเป็น Tap off หรือเรียกทั้งหมดว่าเป็น Splitter ก็ได้ เป็นอันเข้าใจกันว่ามีระบบกระจายสัญญาณสองช่วงนั่นเอง การออกแบบบางกรณีอาจจะใช้เทคนิคการ Tap สัญญาณไปเรื่อยๆก็ได้ หรือเริ่มจาก Splitter ก่อนแล้วค่อย Tap ออกไปตามห้องต่างๆ หรือผสมผสานกันก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วช่างจะเริ่มจากการ Split สัญญาณแล้วค่อย Tap ไปตามห้องมากกว่า โดยรวมแล้วเราก็จะเลือกช่องที่มี Tap loss สูงไว้ในบริเวณต้นทาง เช่นตึกช่วงบนๆ ส่วน Tap loss ต่ำๆ ก็จะเลือกส่งไปบริเวณชั้นล่างๆ เนื่องจากสายสัญญาณที่ยาวขึ้นมีการสูญเสียในสายเพิ่มขึ้นเพื่อให้ค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่าๆกัน จากนั้นก็ต่อไปยัง Splitter เพื่อแยกไปตามแต่ละห้องอีกที สรุปหลักการเบื้องต้นของ MATV ที่กล่าวมานั้นเป็นของระบบทีวีที่ตัวทีวีมีจูนเนอร์แบบอนาลอก เนื่องจากเราห่วงเรื่องการเกิดเงาของคลื่นมาก การส่งผ่านสัญญาณในสายสัญญาณที่ฝาห้องจะเป็น RF แบบอนาลอกที่ทีวีต้องมีจูนเนอร์แบบ อนาลอก แต่การออกอากาศทีวีระบบดิจิตอล ที่มีการออกอากาศแบบความคมชัดสูงหรือ HD ด้วย การออกแบบในลักษณะดังกล่าวจึงไม่สามารถรองรับทีวีดิจิตอลได้ ดังนั้นการออกแบบระบบ MATV สำหรับการรับชมทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินจึงอาจจะต้องเปลี่ยนแนวคิดใหม่ นั่นคือการส่งผ่านสัญญาณจากสายอากาศ ขยายสัญญาณแล้วกระจายสัญญาณโดยตรงลงมาตามห้องต่างๆ โดยแต่ละห้องก็จะมี Set top box หรือทีวีที่มีดิจิตอลจูนเนอร์ในตัว นั่นหมายความว่าต้องส่งผ่านความถี่ทุกช่วง ตั้งแต่ 470 – 862 MHz นั่นเอง #ออกแบบและวางระบบทีวี โรงแรม คอนโด หอพัก รีสอร์ท อพาร์ทเมนท์ ห้องเช่า,#ระบบดิจิตอลทีวี,#ออกแบบและติดตั้งระบบทีวี,#hoteliptv,#ระบบทีวีโรงแรม #ออกแบบและติดตั้งระบบดิจิตอลทีวี,#ระบบทีวีหอพัก ,#ระบบทีวีคอนโด,#ระบบทีวีรีสอร์ท,#ระบบทีวีโรงแรม,#ระบบทีวีอพาร์ทเม้นท์,#ติดตั้งระบบดิจิตอลทีวี,#ระบบดิจิตอลทีวี,#ดิจิตอลทีวี,#ระบบทีวีญี่ปุ่น,#ระบบทีวีเกาหลี,#ระบบทีวีต่างประเทศ,#ระบบทีวีต่างชาติ,#ทีวีญี่ปุ่น,#ทีวีใต้หวัน,#ทีวีเกาหลี,#ระบบทีวีรวม,#จานดาวเทียมปทุมธานี,#จานดาวเทียมนวนคร,#จานดาวเทียมคลองหลวง,#ติดตั้งระบบทีวีบนเกาะพยาม ,#ติดตั้งระบบทีวีบนเกาะช้าง,#ติดตั้งระบบทีวีบนเกาะเต่ากูด,#ระบบMATV,#ระบบSMATV,ซ่อมระบบทีวี, ซ่อมระบบทีวีบนเกาะ, ดิจิตอลทีวี, ดิจิตอลทีวีซิลเต็ม, ติดตั้งระบบดิจิตอลทีวี, ติดตั้งระบบทีวีพัทยา, ติดตั้งระบบทีวีรวม, ปรับปรุงระบบทีวี, ปรับปรุงระบบทีวีเกาะพะงัน, ระบบทีวีปทุมธานี, ระบบทีวีพลุวิวล่ารีสอร์ท, ระบบทีวีพลูวิวล่ารีสอร์ท, ระบบทีวีภูเก็ต, ระบบทีวีรวม, ระบบทีวีรีสอร์ท, ระบบทีวีรีสอร์ทกระบี่, ระบบทีวีรีสอร์ทหรู, ระบบทีวีสมุย, ระบบทีวีอยุธยา, ระบบทีวีเกาะกูด, ระบบทีวีเกาะช้าง, ระบบทีวีเกาะพะงัน, ระบบทีวีเกาะเต่า, ระบบทีวีเขาใหญ่, ระบบทีวีโรงแรม,digitaltv, DMATV, hoteliptv, กล่องดิจิตอลทีวีโรงแรม, ซ่อมระบบทีวี, ดิจิตอลทีวี, ดิจิตอลทีวีซิลเต็ม, ดิจิตอลทีวีซิสเต็ม, ติดตั้งระบบดิจิตอลทีวี, ติดตั้งระบบทีวี, ติดตั้งระบบทีวีดิจิตอล, ติดตั้งระบบทีวีรวม, ปรับปรุงระบบทีวี, พลูวิวล่ารีสอร์ท, ระบบดิจิตอลทีวี, ระบบทีวี, ระบบทีวีนครพนม, ระบบทีวีนิคม304, ระบบทีวีปทุมธานี, ระบบทีวีพลุวิวล่ารีสอร์ท, ระบบทีวีพลูวิวล่ารีสอร์ท, ระบบทีวีมุกดาหาร, ระบบทีวีรวม, ระบบทีวีหนองคาย, ระบบทีวีหอพัก, ระบบทีวีอยุธยา, ระบบทีวีอุดรธานี, ระบบทีวีโรงแรม, ระบบทีวีโรงแรมแบบไหนดี, ระบบไอพีทีวีโรงแรม, ออกแบบระบบทีวี, ออกแบบระบบทีวีโรงแรม, แก้ไขระบบทีวี |