Digital TV คืออะไร ? ใช้กับทีวีที่บ้านเราได้หรือไม่ ? ร่วมไขข้อข้องใจได้ที่นี่ !! Digital TV คืออะไร ? ระบบดิจิทัล ทีวี ( Digital TV ) คือ.. ระบบส่งสัญญาณแบบใหม่ที่จะมาแทนที่การส่งแบบ Analog TV ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการยกระดับการส่งสัญญาณโทรทัศน์ ให้เป็นระบบดิจิทัลตั้งแต่ต้นทาง เริ่มจาก “เสาอากาศภาคพื้นดิน” จนถึงทีวีที่บ้านเรา ซึ่งตัวเครื่องจำเป็นต้องมีภาครับหรือ Digital Tuner ที่มีมาตรฐาน DVB-T2 หรือใช้กล่อง Set top Box เป็นตัวรับสัญญาณและเชื่อมต่อเข้าทีวีอีกที ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นแบบไหน ? ถ้าจะกล่าวถึง Digital TV ก็ต้องขอพูดถึงระบบทีวีที่รับชมกันในบ้านเราตั้งแต่ดั้งเดิมมาจนถึงปัจจุบัน เป็นการรับสัญญาณแบบ Analog TV คือใช้สถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินเป็นตัวส่งสัญญาณ และตามบ้านก็ใช้เสาอากาศรับสัญญาณหรือที่เรียกติดปากว่า “เสาหนวดกุ้ง” นั่นแหละครับ ทำให้ความคมชัดก็ขึ้นอยู่กับระยะทางด้วย ยิ่งไกล สัญญาณอ่อน เราก็ยิ่งเห็นเม็ดยิบๆบนจอมากขึ้นเรื่อยๆ ถัดมาคือโทรทัศน์ดาวเทียมหรือ Satellite TV ที่เกิดขึ้นมามากมายในช่วง 15 ปีมานี้ ยกตัวอย่างเช่น True Vision , GMM-Z , D-TV ซึ่งเราสามารถรับสัญญาณดิจิทัลโดยตรงจากจานดาวเทียม สู่จานเหลือง จานแดง จานส้ม ตามแต่จะเรียก แต่สุดท้ายต้องผ่าน “กล่อง” Set Top Box ซึ่งทำหน้าที่ “ถอดรหัสสัญญาณดิจิทัลเป็นอนาล็อก”เพื่อเข้าทีวีเราอีกที ค่าบริการที่แต่ละที่เรียกเก็บก็ต่างกันตามโปรโมชั่น ** ในปัจจุบันก็มีบางเจ้าใช้กล่อง Set Top Box ที่มีช่อง Output เป็น HDMI ซึ่งเป็นดิจิทัล เช่นเดียวกัน ** Digital TV ดียังไงล่ะ ? ระบบ Digital นั้นจะทำให้เราได้รับชมภาพแบบ High- Definition หรือ HD ได้ ซึ่งมีความคมชัดสูง และรับชมกับโทรทัศน์แบบ Wide Screen 16:9 ได้อย่างเต็มจอ โดยอัตราส่วนไม่ผิดเพี้ยนแต่อย่างใด ( ทุกวันนี้ทีวีที่ออกอากาศในบ้านเราส่งสัญญาณมาแบบ 4:3 ) รวมถึงช่องสัญญาณฟรีทีวีที่จะมีให้รับชมมากขึ้นถึง 48 ช่อง โดย 24 ช่องเป็นของเอกชน อีก 24 ช่อง เป็นของรัฐบาล และจะมี 4 ช่องที่แพร่ภาพแบบ HD และจะไม่มีอาการสัญญาณขาดๆหายๆเหมือนอย่าง Analog TV ที่ภาพเป็นเม็ดๆอีกต่อไป จะมีแต่ “รับได้ ภาพขึ้น” กับ “รับไม่ได้ ภาพไม่ขึ้น” ** รายละเอียดช่องรายการยังมีข้อสรุปไม่เป็นที่แน่ชัด อาจเปลี่ยนแปลงได้ ** ประเทศไทยใช้ระบบ Digital TV แบบไหน ? ประเทศไทยเลือกใช้ระบบ DVB-T2 หรือ (Digital Video Broadcasting – Terrestrial 2nd generation) ซึ่งเป็นมาตรฐานใหม่ของการส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ซึ่งพัฒนามาจากระบบ DVB-T (Digital Video Broadcasting – Terrestrial ) ที่ประเทศไทยไม่ได้ใช้ แต่ข้ามไป T2 เลย ( เจ๋งปะล่ะ ! ^^ ) ข้อดีคือมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่องสัญญาณมากกว่าแบบ Terrestrial เดิมถึง 1.5 เท่า สามารถส่งสัญญาณความละเอียดสูงแบบ HD หรือ Full HD ได้ ที่สำคัญคือระยะส่งที่ไกลกว่าเดิม โดยในปัจจุบันหลายประเทศกำลังทดลองใช้ระบบนี้ รวมถึงประเทศในกลุ่มอาเซียนทั้งหมดก็ตกลงร่วมกันว่าจะใช้ระบบ DVB-T2 แล้วทำยังไงเราถึงจะดู Digital TV ได้ล่ะ ? 1. ใช้กล่องรับสัญญาณ Digital TV หรือ ( Set Top Box ) ที่สามารถรับสัญญาณ DVB-T2 ได้ ข้อดีคือไม่ว่าคุณจะใช้ทีวีรุ่นไหนก็ตาม CRT / LCD TV / LED TV / PLASMA TV จะเก่าจะใหม่ ก็สามารถดูได้หมด ยกตัวอย่าง ถ้าทีวีมีช่องต่อ HDMI ก็ใช้ต่อผ่านช่องนี้เพื่อรับชมด้วยสัญญาณดิจิทัลได้เลย ถ้าเป็นจอแก้วรุ่นเก่าใช้ช่องต่อ AV แดงขาวเหลือง ตัวกล่องก็จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณจากดิจิทัลเป็นอนาล็อกเพื่อเข้าทีวีรับชมได้เหมือนกัน 2. ใช้ทีวีที่มี Digital Tuner แบบ DVB-T2 ในตัว ในปัจจุบันทีวีที่วางขายส่วนมากจะมีแต่แบบ DVB-T ซึ่งไม่สามารถใช้ร่วมกับมาตรฐานแบบ DVB-T2 ได้ แต่เชื่อว่าในปีนี้ 2013 นี้จะมีหลายรุ่นออกมาวางจำหน่ายแน่ๆ ถ้ายังอยากใช้แบบเก่า จะสามารถดูฟรีทีวีได้หรือไม่ ? ถ้าที่บ้านไม่มี Digital TV ที่สามารถรับ DVB-T2 ได้ และยังไม่มีกล่องรับสัญญาณ Set Top Box ก็ยังสามารถรับชมฟรีทีวีเหมือนเดิมได้ทุกประการ ผ่านการส่งสัญญาณแบบ Analog ที่ใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน ซึ่งรัฐบาลมีข้อตกลงว่าจะทำการแพร่ภาพระบบ Analog และ Digital ควบคู่กันไป จนถึงปี 2563 หรืออีกประมาณ 7 ปีนั่นเอง ** ข้อตกลงการแพร่ภาพระบบ Analog เป็นข้อมูลเมื่อเดือนมกราคม 2556 ** ถ้าที่บ้านใช้ระบบ “จานแดง จานเหลือง” อยู่แล้วล่ะ ? ต้องแยกกันระหว่างระบบที่ส่งสัญญาณภาพพื้นดิน กับระบบดาวเทียม ถ้าที่บ้านใช้จานรับสัญญาณดาวเทียมดูผ่าน Set Top Box อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นของ True Vision , GMM-Z และอื่นๆ ก็ยังสามารถรับชมได้ตามปกติครับ ไม่มีปัญหาใดๆ ทีวีที่วางขายในปัจจุบันมีรุ่นใด ยี่ห้อใดบ้างที่มี Digital Tuner DVB-T2 ? ณ ปัจจุบันทีวีที่วางขายในประเทศไทย ยังไม่มีรุ่นใดมี Digital Tuner แบบ DVB-T2 แต่คาดการณ์ว่าในปี 2013 นี้ ทีวีที่กำลังจะเปิดตัวตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป บางรุ่นจะมี Digital Tuner DVB-T2 ติดมาด้วยแน่นอน !! โดยเฉพาะบิ๊ก 4 อย่าง Sony , LG , Samsung , Panasonic ส่วนจะเป็นรุ่นใด ราคาเท่าใด ต้องรอติดตามครับผม ในแง่ของผู้ชมอย่างเราๆ สิ่งที่ควรรู้ ก็คือการเตรียมพร้อมในการก้าวเข้าสู่ยุคของดิจิทัลทีวี ที่จะเริ่มต้นในปี 2558 นี้ เพราะเมื่อถึงเวลานั้น ทีวีอนาล็อกที่เราดูกัน รวมไปถึงทีวีดาวเทียมจะต้องถูกปรับเปลี่ยน โดยจะมีทางเลือกในการรับชมมากขึ้น หน้าที่ของผู้ชมก็อาจจะต้องหาอุปกรณ์รับสัญญาณมาติดตั้งเพิ่มเติม แต่ในส่วนนี้ต้องจะรอนโยบายจากภาครัฐให้ชัดเจน ว่าจะมีการช่วยเหลืออย่างไรบ้างปัจจุบัน รายการโทรทัศน์ในประเทศไทย มีการออกอากาศผ่านเสาอากาศทีวี รับชมได้ฟรีโดยไม่มีค่าบริการรายเดือน หรือที่เรียกว่า ฟรีทีวี และโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ทั้งแบบติดกล่องรับสัญญาณ มีการบอกรับสมาชิกรายเดือน และรับสัญญาณจากจานดาวเทียมโดยไม่มีค่าบริการรายเดือน ขณะนี้ได้มีการพัฒนาเข้าสู่ยุคของการจัดการคลื่นความถี่โทรทัศน์แบบดิจิทัล โดยเป็นหน้าที่หลักของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ซึ่งดูแลกิจการด้านวิทยุ-ทีวีของ กสทช. ในการออกใบอนุญาตและดำเนินการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลทีวี ล่า สุดได้มีประกาศมาตรฐานการแพร่ภาพดิจิทัลทีวีแบบ DVB-T2 ยิ่งกระตุ้นให้เราเห็นว่า ยุคของดิจิทัลทีวีใกล้ตัวเรามากขึ้นแล้ว เราจะเตรียมพร้อมอย่างไร หากสังเกตพฤติกรรมของคนเราในปัจจุบันจะพบว่า ก่อนหน้านี้เรามีข้อจำกัดด้านเวลาออกอากาศ เราจึงต้องรีบกลับบ้านมาเพื่อดูรายการโปรด ละครเรื่องโปรด เกิดปรากฏการณ์ถนนโล่งในคืนวันที่ละครฉายตอนอวสาน แต่ยุคของโซเชียล มีเดียนั้นได้เปลี่ยนพฤติกรรมของผู้รับชมไปโดยสิ้นเชิง เพราะหลายๆรายการ ผู้ชมสามารถรับชมย้อนหลังได้จากอินเทอร์เน็ตผ่านช่องทาง Youtube ดังนั้นการพลาดรายการโทรทัศน์ต่างๆ ผู้ชมไม่ได้รู้สึกเสียดายเพราะรู้ดีว่า หาดูย้อนหลังผ่าน Youtube ก็ได้ และรายการโทรทัศน์ยอดฮิต แทนที่จะเป็นวาไรตี้โชว์ ก็กลายเป็นรายการของโทรทัศน์ดาวเทียมและอินเทอร์เน็ตทีวีอย่าง VRZO, เทยเที่ยวไทย, เจาะข่าวตื้น จาก SpokeDarkTV เราจะเห็นได้ว่า ใครๆก็สามารถสร้างคอนเทนต์เองได้ มีช่องรายการของตนเองได้บนอินเทอร์เน็ต และหากมีผู้ชมเป็นจำนวนมาก ก็เป็นโอกาสที่เจ้าของสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ติดต่อให้ผลิตรายการให้ รวมไปถึงความยืนหยุ่นของโทรทัศน์ดาวเทียม ที่ผู้ชมสามารถเลือกชมรายการที่พลาดรับชมในช่วงเวลาที่ฉายรีรันได้ นอกจากนี้ยังเกิดปรากฏการณ์ Multi-Screen (มัลติ-สกรีน) ซึ่งผู้ชมไม่ได้นั่งหน้าจอโทรทัศน์เพียงอย่างเดียว แต่จะคุยโทรศัพท์ หรือใช้งาน Social Network ผ่านสมาร์ทโฟน แท็ปเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ไปพร้อมๆกับการรับชม ส่วนโทรทัศน์ก็เปิดทิ้งไว้ มีประเด็นอะไรน่าสนใจได้ยินผ่านหูก็เงยหน้าขึ้นฟังพร้อมโพสบน Social Network เพื่อแสดงความคิดเห็นของตนได้ทันที พฤติกรรมที่เห็นได้ชัดคือ หากบน Social Network พูดถึงละครเรื่องไหน รายการใด ก็จะมีคนเปิดทีวีติดตามและอ่านความเห็นของคนอื่นๆจาก Social Network ไปพร้อมๆกันด้วย ดังนั้นจุดหลักของฟรีทีวี จึงตกเป็นเรื่องของการนำเสนอข่าวที่เข้มข้น ลึก หลากหลาย ส่วนรายการวาไรตี้ ทอล์คโชว์ บนโทรทัศน์ทีวีดาวเทียมยังทำรายการได้ไม่น่าสนใจเท่าฟรีทีวี เช่น การเชิญแขกรับเชิญดังๆที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ โปรดักชั่นการผลิตรายการ ฉากรายการ เทคโนโลยีในการนำเสนอ และมีอิทธิพลเรื่องของโฆษณาที่มากกว่า ถามว่า ต่อไปอนาคตเมื่อดิจิทัลทีวีเกิด และหมดยุคของอนาล็อกทีวี เมื่อถึงเวลานั้น ฟรีทีวีและเคเบิลทีวีจะปรับตัวอย่างไร ในอนาคต ดิจิทัลทีวีจะมีช่องเพิ่มเป็น 60 – 100 ช่อง ทุกคนจะผลิตเนื้อหาได้เอง สามารถขอเวลาออกอากาศได้เอง หาสปอนเซอร์เข้ารายการได้เอง ยืดหยุ่นกว่าฟรีทีวี และมีช่องทางในการออกอากาศของตนเอง แถมยังมี Social Network ของรายการและของช่อง ช่วยสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ เมื่อถึงเวลานั้น เนื้อหาของรายการ ความน่าสนใจในการนำเสนอจะเป็นตัวตัดสินให้ผู้ชมกดรีโมทเข้าไปดู ทางกสทช ได้จัดทำคลิปนำเสนอการเปลี่ยนผ่านจากอนาล็อกทีวี ไปเป็นดิจิตอลทีวี ในรูปแบบของ Infographic น่าสนใจมากทีเดียว ลองไปชมกัน การรับชมแบบ On Demand อาจจะทำให้ “เวลาไพร์มไทม์” เปลี่ยนไป ปกติเวลาไพร์มไทม์ อยู่ในช่วง 20.30 – 22.00น. แต่พฤติกรรมของผู้ชมในปัจจุบัน ทานข้าวนอกบ้าน เดินคอมมูนิตี้มอลล์ เวลา 5 ทุ่มถึงเที่ยงคืน อาจจะเป็นเวลาไพร์มไทม์ที่เหมาะสมกับกลุ่มคนทำงาน อย่าลืมว่าพฤติกรรมการรับชมแบบ On Demand คือ อยากจะดูเมื่อไหรก็ได้ที่อยากดู บางรายการรับชมย้อนหลังผ่านอินเทอร์เน็ตได้ แต่รายการที่ยังต้องการความสด อย่างกีฬา ฟุตบอล มวย ที่ต้องการรู้ผลแบบเรียลไทม์ ยังต้องการรับรับชมผ่านรายการบนฟรีทีวีและทีวีดาวเทียมอยู่ เพียงแต่การนำเสนอ การวิเคราะห์ที่ “ลึก” ไม่ใช่แค่ผลกีฬา จะเป็นคำตอบที่ผู้ชมจะเลือกรับชม แต่ถ้าผู้ชมมีทางเลือกในการรับชมผ่าน Mobile TV ล่ะ เวลาไพร์มไทม์เป็นโอกาสทองได้ หากผู้ชมไม่ต้องรีบกลับบ้านไปเฝ้าหน้าจอ แต่สามารถรับชมได้ทันทีผ่านอุปกรณ์พกพา เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการรับชมดิจิทัลทีวีในปี 2558 ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น ระบบฟรีทีวีและโทรทัศน์ดาวเทียมก็จะเปลี่ยนไป และผู้ชมจะเริ่มทำความรู้จักกับยุคของดิจิทัลทีวีและโมบายล์ทีวีกับอนาคต ธุรกิจโทรทัศน์ของประเทศไทย โดยในขั้นแรกในขณะนี้เป็นเพียงการประกาศมาตรฐานการแพร่ภาพ และอยู่ในขั้นตอนของการจัดสรรคลื่นความถี่ รวมไปถึงการออกใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิทัล หลังจากนี้จะมีเรื่องที่ เกี่ยวข้องกับผู้ชมโดยตรงคืออุปกรณ์รับสัญญาณ และเครื่องรับโทรทัศน์ที่สนับสนุนการรับสัญญาณดิจิทัลทีวี เมื่อถึงเวลานั้น เราจะมีช่องรายการทีวีให้เลือกมากมาย แต่ก่อนอื่นขออธิบายให้เข้าใจตรงกันก่อนว่า คำว่า ดิจิทัลทีวี ให้ลบภาพของการรับชมรายการทีวีบนอินเทอร์เน็ตในขณะนี้ทิ้งไปให้หมด (ทั้งบนเว็บไซต์ โปรแกรมบนคอมพิวเตอร์) และโมบายล์ทีวี ก็ไม่ใช่การรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ และไม่ใช่การรับชมผ่านอินเทอร์เน็ตแต่อย่างใด แต่เป็นการรับชมจากเครื่องรับสัญญาณดิจิทัลทีวีหรือโทรศัพท์มือถือที่เป็น Mobile TV โดยเฉพาะ สำหรับการเปลี่ยนจากทีวีระบบอนาล็อกไปสู่ทีวีดิจิทัล อุปกรณ์ที่จะต้องมีก็คือกล่องรับสัญญาณ ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าในส่วนนี้ ภาครัฐอาจมีนโยบายช่วยเหลือ โดยมาตรฐาน DVB-T2 เป็นมาตรฐานที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ สามารถรองรับการกำหนดช่องรายการโทรทัศน์จำนวน 40-50 ช่อง ซึ่งเพียงพอสำหรับการจัดสรรช่องรายการ ส่วนใครที่ยังกังวลในเรื่องของการ เปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ วางใจได้เพราะระบบนี้เป็นมาตรฐานยุโรป และเป็นมาตรฐานใน 38 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศในอาเซียนต่างก็มีการรองรับให้เป็นมาตรฐานร่วมของอาเซียน ราคาของอุปกรณ์กล่องรับสัญญาณดิจิทัล Set-Top-Box จะอยู่ในระดับที่ประชาชนทุกครัวเรือนสามารถเป็นเจ้าของได้ ประมาณ 800-1,000 บาทเท่านั้น เมื่อติดกล่องรับสัญญาณนี้แล้ว โทรทัศน์เครื่องเก่าก็สามารถรับสัญญาณดิจิทัลทีวีได้ สำหรับการยุติการออกอากาศโทรทัศน์ในระบบอนาล็อก ไม่ใชว่าพอถึงปี 2558 แล้วโทรทัศน์ระบบเก่าจะรับสัญญาณไม่ได้ แต่จะเริ่มกระบวนการSwitch-Off ในปี 2558 และจะเสร็จสิ้นในปี 2563 ในระหว่างช่วงเวลานี้ก็เพื่อให้ผู้ใช้เตรียมตัวในการเปลี่ยนกล่องรับสัญญาณ ส่วนปลายปีนี้เราจะเริ่มได้เห็นรายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศผ่านทีวีดิจิทัล แล้ว และเรื่องที่หลายๆคนเป็นกังวล โดยต้องการให้กสทช เข้ามาดูแลก็คือ การคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเราๆ เพื่อไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาเกินจริง อวดอ้างสรรพคุณ อย่าง ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม กาแฟลดน้ำหนัก โดยได้ร่วมมือกับ อย. สคบ. กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บป.ปคบ.) เพื่อกำหนดมาตรฐานและเกณฑ์ในการโฆษณาเพื่อปกป้องสิทธิ์ของผู้บริโภคในการรับ ชมสื่อที่นำเสนอหลากหลายมากขึ้น ในประเทศไทยจะใช้ DVB เป็นมาตรฐานหลักในการออกอากาศระบบดิจิทัล ทั้งภาคดาวเทียม และเคเบิ้ล (DVB-S, DVB-C) ที่มีผู้ให้บริการหลายราย ทั้งแบบบอกรับสมาชิก และแบบซื้อขาดไม่มีรายเดือน ส่วนภาคพื้นดินนั้นเดิมทีจะใช้ระบบ DVB-T ซึ่งเคยมีการทดสอบเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2543 ถึงพฤษภาคม 2544 จากตึกใบหยก 2 แต่ความล้าช้าของการออกกฎหมายกสช ผ่านมา 10 ปี เทคโนโลยี DVB พัฒนาดีขึ้น ประเทศไทย และสมาชิกอาเซียนจึงมีการตกลงจะใช้ระบบ DVB-T2 ประเทศไทยต้องรอการอนุญาตจากกสทชก่อน ซึ่งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 จะประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เพื่อเริ่มนำร่องโครงการทดลอง ดิจิทัล ทีวี ภาคพื้นดิน และในรูปแบบโทรศัพท์ที่สามารถดูโทรทัศน์ได้ เป็นลำดับแรกในเดือนมิถุนายน 2555 การทดลองดิจิทัลทีวี DVB-T2 เคยทดลองมาแล้วโดยช่อง 5 ในปี พ.ศ. 2554 และจะยุติระบบอะนาล็อกในปี พ.ศ. 2558 – พ.ศ. 2563 อธิบายเพิ่มสำหรับคนที่ไม่ได้ติดตามเรื่องทีวีดิจิทัลนะครับ ข่าวนี้เกี่ยวกับการออกอากาศทีวีแบบปกติที่เราใช้กันอยู่ (terrestrial television) เพียงแต่เปลี่ยนมาใช้การส่งสัญญาณแบบดิจิทัล แทนสัญญาณแอนะล็อกแบบปัจจุบันนี้ ผลดีก็คือมีช่องฟรีทีวีเยอะขึ้นมาก (ด้วยช่วงคลื่นที่มีน่าจะได้ราวๆ 40-50 ช่องด้วยความละเอียด SD) การแพร่สัญญาณทีวีแบบดิจิทัลจะเป็นช่องใหม่ที่ไม่ซ้ำกับ 6 ช่องเดิม และไม่กระทบกับการส่งสัญญาณทีวีแบบเดิมเพราะคนละช่วงคลื่นกัน ทีวีแบบดิจิทัลจะแพร่ภาพคู่กับแอนะล็อกไปอีกช่วงหนึ่งเพื่อให้ประชาชนปรับตัว จากนั้นจะเลิกออกอากาศแบบแอนะล็อกโดยถาวร (เรียกว่า digital switch over) เพื่อนำช่วงคลื่นทีวีแอนะล็อกเดิมไปใช้งานด้านอื่นที่มีประสิทธิภาพของการใช้คลื่นที่ดีกว่า ระบบให้เลือกใช้ ได้แก่ ATSC (อเมริกา), ISDB-T (ญี่ปุ่น), DTMB (จีน), DVB-T (ยุโรป) และ DVB-T2 (ยุโรป) สำหรับประเทศไทยนั้น ล่าสุดทาง กสทช.เลือกใช้ระบบส่งสัญญาณแบบ DVB-T2 โดยให้เหตุผลว่าเป็นระบบที่ใหม่และมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อเทียบกับระบบ อื่น ๆ อีกทั้งยังเป็นระบบที่ประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่เลือกใช้อีกด้วย การเข้าสู่ยุคทีวีดิจิทัลไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเพียงแค่ระบบการรับ-ส่งสัญญาณ วิทยุโทรทัศน์เท่านั้น เพราะในด้านเทคโนโลยีด้านการถ่ายได้ถูกพัฒนาขึ้นมาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมาก ขึ้นเพื่อรองรับระบบที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น กล้องถ่ายวิดีโอที่พัฒนาขึ้นมาให้มีความคมชัดมากขึ้น อีกทั้งขนาดของภาพก็เปลี่ยนไปจาก 4 : 3 (จอภาพธรรมดา) เป็น 16 : 9 (จอภาพไวด์สกรีน) เป็นต้น และจุดนี้เองที่ทำให้เกิดปัญหาเรื่องภาพเพี้ยนของรายการโทรทัศน์ไทยใน ปัจจุบัน “ฐิติชัย อัฏฏะวัชระ” สื่อมวลชนอิสระและผู้คร่ำหวอดในด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร กล่าวถึงกรณีนี้ว่า “ในปัจจุบันรายการโทรทัศน์ส่วนใหญ่เกือบ 70 เปอร์เซ็นต์ถูกถ่ายทำออกมาด้วยระบบไฮเดฟที่มีขนาดภาพที่ 16 : 9 แต่ด้วยความที่เมืองไทยยังคงเป็นระบบแอนะล็อกที่ส่งสัญญาณภาพแบบ 4 : 3 ประกอบกับทีวีตามบ้านเรือนส่วนใหญ่ยังเป็นจอธรรมดาไม่ใช่ไวด์สกรีน ทำให้ภาพที่ออกมามีสัดส่วนที่เพี้ยน ซึ่งอาจจะอ้วนหรือลีบจนเกินไป แต่ถ้าดิจิทัลทีวีเกิดขึ้นเมื่อไร เชื่อว่าปัญหาดังกล่าวน่าจะหมดไปอย่างแน่นอน” อย่างไรก็ตาม ปัญหาเรื่องสัดส่วนภาพเพี้ยนในปัจจุบันอาจจะกลายเป็นเรื่องเล็กน้อย เมื่อได้รับรู้ว่าการเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบของทีวีดิจิทัลไทยในอีก 3 ปีข้างหน้า บังคับให้ทุกบ้านที่ใช้โทรทัศน์จอตู้ธรรมดาต้องมีกล่องรับสัญญาณโทรทัศน์ดิ จิทัลติดเอาไว้ หรือไม่ก็ต้องเปลี่ยนโทรทัศน์ให้เป็นสมาร์ททีวีที่รองรับความเป็นดิจิทัลใน อนาคตยกเว้นเพียงแต่ว่ารัฐบาลจะช่วยอุดหนุนเม็ดเงินในช่วงเปลี่ยนผ่านให้กับ ประชาชน เช่นเดียวกับที่ญี่ปุ่นหรือสหรัฐอเมริกาเคยทำมาก่อนหน้านี้ ล่าสุดมีเสียงแว่วมาจาก กสทช.ว่ารัฐบาลมีงบฯสนับสนุนแน่นอน แต่จะเท่าไรและรูปแบบไหนคงต้องรอลุ้นกันอีกในช่วงปลายปีนี้ หรืออาจจะ 3 ปีข้างหน้าก็เป็นได้
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กสท. ในวันที่ 1 ตุลาคม มีมติสรุปช่องรายการดิจิตอลทีวีของประเทศไทย ก่อนนำเสนอต่อ กสทช.พิจารณา ในวันที่ 10 ตุลาคม โดยแบ่งเป็นช่องรายการในกลุ่ม ช่องบริการชุมชน 12 ช่อง ช่องบริการสาธารณะ 12 ช่อง ช่องบริการธุรกิจในหมวดรายการเด็กและเยาวชน 5 ช่อง หมวดข่าวสารและสาระ 5 ช่อง หมวดช่องทั่วไป 10 ช่อง และในหมวดของช่องรายการที่มีคุณภาพความคมชัดสูง (เอชดี) 4 ช่องรายการ โดยในหมวดของช่องทั่วไปและเอชดี จะมีการกำหนดให้ต้องจัดรายการที่เป็นสาระประกอบอยู่เป็น 25% ของรายการทั้งหมด พ.อ.นทีกล่าวว่า ในส่วนของการให้ใบอนุญาตในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ จะมีการให้ใบอนุญาตผู้ประกอบการโครงข่าย และดิจิตอลทีวีในกลุ่มช่องบริการสาธารณะ จากนั้นในช่วงเดือนมีนาคม 2556 จึงเปิดให้มีการประมูลช่องรายการในกลุ่มธุรกิจ และในกลุ่มช่องบริการชุมชนในเดือนพฤศจิกายนปี 2556 ซึ่ง กสท.ยังได้ให้คณะอนุกรรมการศึกษาในเรื่องของการกำหนดอัตราถือครองช่องรายการขั้นต่ำของผู้ประกอบการ โดยจะทำการประเมินจากศักยภาพด้านการดำเนินงานของผู้ประกอบการ “สำหรับส่วนราคาตั้งต้นของการประมูล ขณะนี้กำลังรอผลการศึกษาจากทีมอนุกรรมการ แม้ยังให้คำตอบไม่ได้ว่าจะสามารถรู้ผลเมื่อไร แต่คาดราคาที่ออกมาได้จะไม่สูงมากนัก เนื่องจากเราต้องการให้ผู้ประกอบการนำเงินลงทุนไปใช้ในการสร้างเนื้อหารายการดีๆ มากกว่าเอามาใช้ลงทุนประมูล ทั้งนี้ในการศึกษาการกำหนดราคาจะใช้วิธีการประเมินมูลค่าคลื่นเช่นเดียวกับการคิดมูลค่าในกิจการโทรคมนาคม” พ.อ.นทีกล่าว พ.อ.นทีกล่าวว่า นอกจากนี้ในส่วนของเนื้อหารายการหากผู้ประกอบการจะนำช่องรายการที่มีการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองสนับสนุนเสื้อสี หรือกลุ่มพรรคการเมือง ในเบื้องต้น กสท.สามารถอนุญาตให้ทำได้ แต่ห้ามฝ่าฝืน ม.37 พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ว่าด้วยการไม่เผยแพร่รายการที่ออกอากาศจะต้องไม่กระทบกระเทือนหรือดูหมิ่นสถาบันกษัตริย์ แสดงออกโดยจงใจก่อให้เกิด การเหยียดหยามประเทศชาติ รัฐบาล เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือกลุ่มชนใด ลบหลู่ศาสนา ปูชนียบุคคล ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีของคนในชาติ หรือกระทบต่อสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ ขัดต่อศีลธรรม วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมอันดีงาม กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศ ยั่วยุกามารมณ์หรือลามกอนาจาร รวมทั้งตามกฎหมายรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้พรรคการเมืองห้ามเป็นเจ้าของสื่อ |